ค้นหาอย่างละเอียด โครงการน่าอยู่ ย่านน่าอยู่ Blog ไอเดียแต่งบ้าน โครงการใหม่ บ้านในฝัน สาระเรื่องบ้าน ข่าวสาร ติดต่อเรา
การตรวจบ้านก่อนรับโอน EP.3 ตรวจระบบไฟฟ้า Share : หลังจากที่เราพาตรวจบ้านก่อนรับโอนไป 2 ตอน คือ การตรวจบ้านก่อนรับโอน EP.1 ตรวจภายนอกบ้าน การตรวจบ้านก่อนรับโอน EP.2 ตรวจภายในบ้าน วันนี้เราจะมาแนะนำกันต่อถึงการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแบบง่ายๆ ในระหว่างการตรวจรับบ้านสำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งมีวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านที่ง่ายที่สุดคือ การเปิดไฟทุกดวงภายในและภายนอกบ้าน สังเกตว่าตำแหน่งดวงโคมกับสวิซเปิด-ปิด แสงไฟจากดวงโคมสว่าง ไม่มัว 2. การทดสอบเต้ารับ หากมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสามารถนำไขควงจิ้มที่น็อตของเต้ารับ ดูว่ามีไฟรั่วมาที่น็อตหรือเปล่า และใช้ไขควง 4 แฉกเปิดปลั๊กไฟทุกจุด หรือสุ่มดูว่ามีการเดินไฟเอาไว้กี่เส้นต้องมีสายดินต่อเอาไว้ พอเปิดออกมาแล้วจะเห็นสายไฟต้องมี 3 เส้น หรือวิธีที่ง่ายกว่าสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าเลยให้นำไดร์เป่าผม หรือโคมไฟเล็กๆเสียบแล้วลองใช้ เพื่อดูว่าเต้ารับตัวไหนใช้ได้บ้าง หากตำแหน่งไหนไม่มีไฟเข้าให้รีบแจ้งทางโครงการเพื่อให้มาแก้ไข 3. เต้ารับภายนอกบ้านหรือกระดิ่งหน้าบ้าน ต้องมีหน้ากากกันน้ำและยางกันน้ำ 4. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในห้องน้ำ ควรมีการเดินสายไฟและสายดินเอาไว้สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น หากมีอ่างอาบน้ำแล้วจำเป็นต้องใช้เครื่องทำน้ำร้อน ก็เดินสายไฟพร้อมทั้งเดินสายดินไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เจ้าของบ้านจะติดตั้งอุปกรณ์เสริมในภายหลัง หรือในกรณีที่ทางโครงการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นภายในห้องน้ำมาให้แล้ว ให้สังเกตว่าทางโครงการได้เดินสายดินไว้ให้หรือไม่ โดยการเดินสายไฟให้เดิน 3 สาย(มีสายดินด้วย) ถ้าไม่มีให้รีบแจ้งทางโครงการมาเดินสายดินให้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังต้องมี Breaker ให้ด้วย 5. การตรวจสอบการเดินสายไฟ ทำได้โดยการดูใต้หลังคาหรือใต้ฝ้า โดยให้ปิด Main Breaker แล้วเอาไฟฉายขึ้นไปดูว่ามีการร้อยสายไฟเอาไว้ในท่อหรือไม่ หากไม่มีให้ทำให้แจ้งทางโครงการให้เดินสายรอยท่อ และสายไฟฟ้าต้องสมบูรณ์ ไม่มีรอยขาด รอยชำรุด เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากสายไฟชำรุด 6. หากทางโครงการแถมติดตั้งเครื่องปรับอากาศมาให้ ให้เปิดทดสอบ และทดสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ให้เปิดทดสอบการใช้งานว่าใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ ถ้าไม่สามารถทำงานได้ตามปกติให้ทางโครงการแก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ให้ใหม่ 7. การตรวจสอบไฟรั่วทำได้โดยปิดดวงโคมและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ต้องปิด Main Breaker แล้วดูที่มิเตอร์ไฟ ถ้าหากตัวเลขบนมิเตอร์ยังวิ่งอยู่แสดงว่ามีไฟรั่ว ให้ทางโครงการทำการตรวจหาสาเหตุแล้วทำการแก้ไข 8. การตรวจสอบระบบตัดไฟเมนเบรกเกอร์ ควรมีการติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเกิดไปรั่วหรือใช้ไฟเกิน Inside2home ไอเดียแต่งบ้าน