หย่อมป่า สัมผัสธรรมชาติกลางเมือง เพื่อชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน
Facebook Twitter Email
ถ้าได้ยินคำว่า “ชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน” ทุกคนจินตนาการภาพแบบไหนกัน? อาจจะเป็นชีวิตที่ขับเคลื่อนด้วยความสะดวกสบายรอบด้านหรือเปล่า? หรือเป็นชีวิตที่ทุกอย่างต้องรวดเร็วทันใจและรายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกแบบที่ไม่ต้องขยับตัวไปไหนไกล

แต่ “ชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน” ของ AP Thai ไม่ใช่แบบนั้น… พาทุกคนมาเรียนรู้และเริ่มต้นไปพร้อม ๆ กับ AP Thai เพื่อค้นหาความหมายของชีวิตที่ดี ที่มาพร้อมความยั่งยืน ผ่านโครงการ “หย่อมป่า” มาค้นหาคำตอบกันว่า เราจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้ให้กับ “ทุกชีวิต” บนโลกใบนี้ได้อย่างไร…

“ชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน”
คือชีวิตแบบไหน ?



          ว่ากันว่าถ้าเราอยากได้ชีวิตแบบไหน ให้เราพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น ทุก ๆ อย่างเราสามารถเลือกได้ด้วยตัวของเราเอง แต่ “ภาวะโลกร้อน” หรือ Global Warming เป็นปัญหาที่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยที่สุด และแน่นอนว่านี่คือ สภาวะที่เราและเพื่อนร่วมโลกกำลังเผชิญไปพร้อม ๆ กัน คือสิ่งที่เรา “เลือก” มาจริงหรือ?



          คำตอบ คือเราอาจไม่ได้เลือกที่จะอยู่ในภาวะโลกร้อน อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ฝนตกฤดูร้อน พายุเข้าอย่างหนักจนน้ำท่วมในฤดูฝน หรือแม้กระทั่งฤดูหนาวที่พัดผ่านมาเพียงแค่ไม่กี่วันต่อปี ล้วนไม่ใช่สิ่งที่เรา “เลือก” แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำให้เราต้องหันกลับมาถามตัวเองอีกครั้งว่านี่ คือ “ชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน” ที่เราต้องการหรือเปล่า?

ร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน



          ภาวะโลกร้อน 101 : ปัญหาภาวะโลกร้อน คือ ปัญหาที่มาจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกในระยะยาว เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากรังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างปกติ



          ‘กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว’ เป็นประโยคที่เราเคยได้ยินกันบ่อย ๆ การช่วยกันแยกขยะ ใช้ถุงผ้า งดการใช้พลาสติก หรือสารพัดวิธีที่เราจะทำได้ ก็ไม่ได้ทำให้โลกหยุดร้อนในวันพรุ่งนี้ เราใช้เวลาประกอบสร้างภาวะโลกร้อนนี้มามากกว่าหลักร้อยปี แต่จะปรารถนาให้โลกกลับมาดีขึ้นภายในวันสองวันคงเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน…



          แม้ภาพที่คิดไว้จะดูห่างไกลจากความเป็นจริง แต่เพียงแค่เราได้ 
“เริ่มต้น” ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีแล้ว ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและจริงจังกับการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในระดับประเทศเองก็มีการร่าง กฏหมายที่ชัดเจนกับการลงมือปฎิบัติมากขึ้น ระดับเอกชนที่พยายามเชื่อมคนกับธรรมชาติให้เข้าใกล้กันมากขึ้น มาจนถึงในระดับบุคคลที่เริ่มโหยหาการกลับไปอยู่กับธรรมชาติและต้องการทำให้ “โลก” ที่เราอยู่ เป็นโลกที่น่าอยู่สำหรับ “ทุกสิ่งมีชีวิต”

สร้างรอยเท้าในธรรมชาติน้อยที่สุด



          การเหยียบย่ำเข้าไปแต่ละครั้งของมนุษย์ย่อมส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตรอบตัว ที่ผ่านมามนุษย์ใช้ชีวิตเพื่อความสุขของตนเอง บนพื้นที่ของเจ้าของที่แท้จริงคือ ธรรมชาติมากขนาดไหน ประกอบกับปัญหาใหญ่เดิมที่มีอยู่อย่างภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืช ไปจนถึงขยะพลาสติกเล็ดรอดไปทุกหนแห่ง



          เมืองทั่วโลกกำลังค่อย ๆ ขยายตัวในอัตราที่สูง สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าความเป็นเมืองของสังคมปัจจุบันจะเติบโตเร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด ถึงขั้นที่ว่าภายในปี 2030 พื้นที่เมืองจะคิดเป็น 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในโลก แม้จะดูเหมือนไม่เยอะ แต่อย่าลืมว่า 3 ใน 4 ของเมืองเป็นมหาสมุทร ถึงทั้งชีวิตของคุณอาจเกิดมาอยู่ในเมืองและจากไปกับสภาพเมืองที่โตขึ้นทุกวัน แต่ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่นที่วิวัฒนาการคู่กับมนุษย์มาหลักแสนหลักล้านปีกำลังจะหายไปเรื่อย ๆ การที่เราได้พื้นที่บ้าน ได้พื้นที่เมืองที่เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน “บ้าน” ของเพื่อนร่วมโลกก็กำลังจะถูกทำลายไปเช่นเดียวกัน



          บางคนอาจจะเกิดคำถามว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ดีอย่างไร? ในเมื่อแมลง 1 ตัวตายไปก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลง สัตว์สูญพันธุ์ไป 1 สปีชีส์ก็ไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อน แต่อย่าลืมว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ทำให้เกิดระบบนิเวศ เกิดการบริโภค การผลิตทางการเกษตร คุณภาพสิ่งแวดล้อม สมดุลของวงจรน้ำ การป้องกันการสูญเสียทรัพยากรแร่ธาตุและการกัดเซาะพังทลายของดินและอื่น ๆ ขณะที่การสูญเสียความหลากหลายดังกล่าวได้ทำให้เกิดผลเสียอย่างมากมายต่อการผลิต การบริโภค และเศรษฐกิจของสังคมมนุษย์โดยตรง ถ้าเราลองถอยหลังออกมา 1 ก้าว และมองสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ให้กว้างขึ้น เราจะมองเห็นถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ว่าส่งผลต่อมนุษย์ตัวใหญ่ใจโตอย่างเรามากเพียงใด
 
พื้นที่สีเขียวเพียง 2% ในกรุงเทพฯ
บอกอะไรกับเรา?



          กลับมามองในมุมของมนุษย์คน “เมือง” กันบ้าง เมื่อกรุงเทพฯ เหลือพื้นที่สีเขียวแค่ 2% หรือ 7.8 ตร.ม. ต่อคน ลองนึกภาพ เมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้า รถราแออัด เสียงแตรดังสนั่น อากาศร้อนอบอ้าว และควันพิษคลุ้งไปทั่ว ฟังดูแล้วอึดอัดใช่ไหม นี่แหละคือสภาพของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ที่กำลังเผชิญกับ "ภาวะวิกฤตพื้นที่สีเขียว" อย่างหนัก



          ในขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงติดอันดับ 20 ของโลก แต่กลับต้องเผชิญกับการสูญเสียถิ่น ที่อยู่เนื่องจากการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่อง ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิถีชีวิตความเป็นคนเมืองทุกวันนี้ ทำให้เราต้องห่างไกลธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน และทำให้คุณภาพชีวิตลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ นั่นยิ่งทำให้เรายิ่งโหยหาการได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เรารู้สึกสบายใจที่จะอยู่กับธรรมชาติเป็นเพราะธรรมชาติแทบจะไม่เรียกร้องอะไรจากมนุษย์เลย มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติได้ตามแต่ใจต้องการ แต่เราต่างค่อย ๆ ทำลายธรรมชาติเหล่านั้นไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่ง AP Thai ก็ได้มองเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จึงมีการเริ่มต้นลงมือทำโครงการ “หย่อมป่า” กลางเมือง ที่พยายามนำ “ธรรมชาติ” เข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับเมือง กับบ้าน กับที่อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุด…

 
“หย่อมป่า” กระบวนการคิด และการลงมือทำของ
AP Thai เพื่อชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน



          ก่อนอื่นเรามาอธิบายก่อนว่า “หย่อมป่า” คืออะไร? หย่อมป่า คือชื่อที่บ่งบอกถึงความเป็น “ป่าขนาดย่อม” ที่เอพี ไทยแลนด์ ตั้งใจจัดพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 5% ในโครงการแนวราบ และแนวสูง เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและวิกฤตพื้นที่สีเขียวในเมือง



          “พื้นที่สีเขียว” ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านหรือคอนโดมิเนียมก็ต่างพูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ “หย่อมป่า” ของ AP Thai มีกระบวนการคิดเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวที่แตกต่างออกไป ไม่ใช่แค่พื้นที่ที่มีพุ่มไม้ สนามหญ้า และต้นไม้ที่ให้ร่มเงาแก่มนุษย์เท่านั้น แต่เป็นพื้นที่สีเขียวที่ปล่อยให้ “ธรรมชาติ” เป็นผู้ทำงานด้วยตัวเองจริง ๆ




          สิ่งที่เอพี ไทยแลนด์ เล็งเห็นก่อนเป็นอันดับแรก คือ โครงการที่อยู่อาศัยของ AP Thai กระจายอยู่ครอบคลุมทุกทำเลในกรุงเทพฯ แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าสามารถกระจาย “หย่อมป่า” ไปพร้อม ๆ กับโครงการที่อยู่อาศัยได้ โดยจัดพื้นที่สีเขียวในโครงการแนวราบ และแนวสูง

          โดยการเลือกปลูกพรรณไม้พื้นถิ่น ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ดอก ไม้ประดับ หลากหลายสายพันธุ์แตกต่างกันไป นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว “หย่อมป่า” ยังทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวในเมือง ให้เป็นที่พักของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและยังสร้างที่พักพิงอาศัยให้แก่สัตว์นานาชนิด สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity ที่มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาระบบนิเวศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญต่อชีวิตทุกชีวิตบนโลก แน่นอนว่าต้นไม้ทุกต้น ไม่ว่าจะเป็นต้นหญ้าต้นเล็ก ๆ หรือต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหล่านี้มีส่วนช่วยอย่างมากในการกักเก็บคาร์บอน CO2 และช่วยลดอุณหภูมิของโลก…



          ถ้าเราพูดถึงคำว่า “ป่า” บางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของความอันตราย สัตว์เลื้อยคลานมีพิษต่าง ๆ ที่อาจจะเข้ามาทำร้ายเรา แต่ AP Thai ก็ได้คิดถึงเรื่องนี้มาเป็นอย่างดีแล้วเช่นเดียวกัน การที่จะนำเอา “หย่อมป่า” เข้ามาอยู่กลางเมือง และเป็นพื้นที่สีเขียวที่สำคัญในบริเวณที่อยู่อาศัยของคนเมือง ก็ต้องมีระบบการจัดการดูแลรักษาที่ดีเช่นเดียวกัน



          ข้อแรกที่เป็นข้อพื้นฐานเลย คือ การเลือกสรรพรรณไม้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่และแสงแดด เพื่อให้ต้นไม้ทุก ๆ สามารถเติบโตได้อย่างดี ไม่เหี่ยวเฉาตายจนกลายเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์อันตราย และอีกหนึ่งสิ่งที่ AP Thai ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ การดูแลรักษาพื้นที่สีเขียวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำต้นไม้อย่างสม่ำเสมอ พรวนดินเป็นประจำ และให้ทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตัดแต่งกิ่งกำจัดวัชพืช ใบไม้แห้งกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ ซึ่งนอกจากช่วยเรื่องความสวยงามแล้ว ยังทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องของสัตว์มีพิษอันตราย และจะยิ่งทำให้ “มนุษย์” กับ “ธรรมชาติ” ได้เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างสบายใจ




          แน่อนว่าการเริ่มต้นทำบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ย่อมต้องการความร่วมมือจากผู้ที่มองเห็นปัญหาและมีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่ง AP Thai ก็มองเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้เช่นเดียวกัน จึงเริ่มทำการวางเครือข่ายทั่วกรุงเทพฯ ร่วมกับ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสำรวจโครงการนำร่องของ AP Thai ทั้งในโครงการแนวราบและแนวสูง ที่ได้ทำเอา โครงการ “หย่อมป่า” กลางเมือง ไปใช้กับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมีการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้น นก แมลง และการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่โครงการ



          ซึ่งผลการสำรวจความหลากหลายก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของแมลง พบผีเสื้อ มากถึง 9 ชนิดแมลงปอ 5 ชนิด กลุ่มด้วง 4 ชนิด และสัตว์ตัวเล็กอื่น ๆ อีกมากมาย



          รวมถึงความหลากหลายของเหล่านกตัวน้อย ๆ ที่คอยสร้างเสียงเพลงให้เราได้ยินในทุกวันก็มีมากไม่แพ้กัน นอกจากจะพบนกกระจอกบ้านที่เรามักจะพบเห็นกันบ่อย ๆ แล้ว ยังมีการพบ นกเอี้ยงสาริกา นกปลอดสวน นกกาน้ำเล็ก นกพิราบป่า นกกางเขนบ้าน และยังมีนกชนิดอื่น ๆ ที่มีโอกาสอพยพมาตามฤดูกาลในเดือน ต.ค. - เม.ย อีกด้วย



          นอกจากนี้ยังมีผลการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ยืนต้นหลากหลายสายพันธุ์ที่ถูกนำปลูกในพื้นที่โครงการ

          โดยมีการแบ่งปริมาณการกักเก็บ Co2 ของต้นไม้แยกตามชนิด สูงสุด 5 อันดับ คือ
  • แคนา 75.7%
  • ตีนเป็ด 8.2%
  • สนฉัตร 4.9%
  • กันเกรา 2.9%
  • เหลืองปรีดียาธร 2.3%
**อ้างอิงจากการสำรวจในโครงการ Centro บางนา



          ถ้าจะพูดให้ถูก ต้นไม้ทุกต้นต่างมีความสำคัญไม่ต่างกัน และเอื้อประโยชน์ให้กับมนุษย์ไม่ใช่เพียงแค่ให้ร่มเงาเท่านั้น เหล่าสัตว์ร่วมโลกอื่น ๆ ก็ต่างได้ประโยชน์จากต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นแมลงหรือนกที่ต้องการ “บ้าน” ชั่วคราว ที่พักพิงอาศัยหลบภัย เห็นได้ชัดเลยว่า “หย่อมป่า” ไม่ได้เชื่อมธรรมชาติกับมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเชื่อมโยงกับสัตว์ร่วมโลกอื่น ๆ อีกด้วย



          สิ่งที่ AP Thai เริ่มต้นทำ โครงการ “หย่อมป่า” กลางเมือง ทำให้เราได้เห็นได้ชัดเจนเลยว่า การที่เรากลับมาคิดจากจุดเริ่มต้น ปล่อยให้ธรรมชาติได้ทำงานด้วยตัวเองโดยไม่โดนมนุษย์รบกวนมากจนเกินไป ส่งผลดีต่อระบบนิเวศน์มากแค่ไหน ช่วยให้คนได้รู้สึกผ่อนคลาย ได้ยินเสียงนกร้องแทนที่เสียงแตรรถ สัมผัสลมเย็นจากธรรมชาติมากกว่าลมเย็นจากในห้องแอร์สี่เหลี่ยม





          มีงานวิจัยจำนวนมากที่บ่งบอกว่า “มนุษย์” จะรู้สึกเหงามากยิ่งขึ้นเมื่ออยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนและความศิวิไลซ์ แต่มนุษย์กลับรู้สึกดีและรู้สึกเหงาน้อยลงเมื่อใช้เวลากับธรรมชาติ นั่นเพราะธรรมชาติทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและสบายใจ โดยไม่ได้เรียกร้องอะไรจากเราเลยแม้แต่น้อย และเรายังช่วยให้เพื่อนร่วมโลกได้ “บ้าน” ที่ดีกลับมาอีกครั้งเช่นกัน




           อย่างที่เรารู้กันดีว่าทุก ๆ โครงการของ AP Thai ให้ส่วนกลางมาจัดเต็ม พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย และพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่อยู่แล้ว แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราคิดให้มากขึ้น เปลี่ยนจากการปลูกต้นไม้ให้ที่ให้ความร่มรื่นเพียงอย่างเดียว เป็นการปลูกต้นไม้หลากหลายพรรณเพื่อให้ที่พักพิงอาศัยแก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อคืนความสัมพันธ์ให้มนุษย์กับธรรมชาติกลับมาสนิทกันเหมือนเดิม





          เพิ่มเติม คือ การปรับสมดุลไม่ให้มนุษย์สร้างความเสียหายให้ธรรมชาติไปมากกว่านี้ และทำให้ธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวเป็นเหมือนหลุมหลบภัยให้กับมนุษย์เช่นเดียวกัน





          พื้นที่ส่วนกลางของโครงการที่อยู่อาศัยของ AP Thai ไม่ว่าจะเป็นโครงการแนวราบหรือแนวสูงต่างมีแนวคิดการเชื่อมโยงกับธรรมชาติไม่แตกต่างกันมากนัก ง่าย ๆ เลยก็คือ จะทำอย่างไรให้การใช้งานในแต่ละจุด แต่ละพื้นที่สามารถมองเห็นธรรมชาติ เห็นต้นไม้ เห็นแสงแดดอ่อน ๆ เห็นดอกไม้หลากหลายสีสัน เห็นนกบินผ่านไปมา ได้ยินเสียง ได้สัมผัส ได้กลิ่นธรรมชาติ ไม่ว่าเราจะใช้งานอยู่ในจุดใดในโครงการก็ตาม

เปลี่ยนพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 5%
ในโครงการให้กลายเป็นหย่อมป่า
AP Thai



          อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า AP Thai พยายามปรับพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 5% ในโครงการแนวราบและแนวสูง ให้กลายเป็น หย่อมป่าที่ยั่งยืน แม้อาจจะดูเป็นเปอร์เซนต์ที่น้อย แต่ถ้าเราคิดว่า 5% นี้ กระจายไปในทำเลต่าง ๆ ทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ พร้อม ๆ กับโครงการ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดของ AP Thai จะเป็นอย่างไร



          แม้เราจะฝันไว้ไกล แต่กระบวนการทำในเชิงปฏิบัติ ต้องมีก้าวแรกเสมอ เหมือนที่ AP Thai กำลังริเริ่มทำ หากบางคนมองว่าเป้าหมายปลายทางมันเว่อร์ไป งั้นต้องมาเริ่มก้าวแรกกันด้วยวิสัยทัศน์ก่อน ทำให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ จากการถอดบทเรียนจากอดีต

 
ชีวิตดี ๆ ของทุกสิ่งมีชีวิตเป็นแบบไหน?

          แล้วถ้าเรากลับมาถามคำถามเดิมอีกครั้งว่า ‘ชีวิตดี ๆ ของทุกคนเป็นแบบไหน?’ โลกแบบไหนที่เราคิกว่ามันดี แล้วถ้าเปลี่ยนคำถามเป็น “ชีวิตดี ๆ ของทุกสิ่งมีชีวิตเป็นแบบไหน?” คำตอบของเราจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า ในเมื่อเราเองก็ยังอยากได้บ้านที่เหมาะสมกับเรา เลือกที่อยู่อาศัยที่เราชอบและรู้สึกสบายใจในแบบที่เราต้องการ ขนาดมนุษย์เรายังมีสิทธิ์ในการเลือกสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยได้ แต่ทำไมเราไม่ช่วยกันสร้างโลกหรือสภาพแวดล้อมที่ดีแบบที่เราต้องการ ให้กับเพื่อนร่วมโลกไม่ได้



          แล้วทำไมเราถึงช่วยกันสร้างโลกหรือสภาพแวดล้อมที่ดีแบบนั้นให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นไม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็ คือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ทำให้เรารู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยความหมาย ได้สัมผัสความสงบอย่างที่เมืองไม่อาจมอบให้ได้ แล้วเราจะมองเห็นความสำคัญของสิ่งมีชีวิตอื่นมากยิ่งขึ้น

 
จาก “หย่อมป่า”
ถึง ชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน
ของทุกชีวิต
AP Thai



          ไม่ว่าเราอยู่อาศัยอยู่ในคอนโดตึกสูงระฟ้า หรืออาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวชานเมือง นั่งทำงานในอาคารสำนักงานอันแออัด แต่เชื่อเถอะว่า ทุกคนอยากหาเวลาพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ระดับลางานไปเดินป่าแอมะซอน หรือซื้อต้นไม้เล็ก ๆ มาปลูกในคอนโด ก็ล้วนเป็นการโหยหาธรรมชาติเช่นเดียวกัน อย่างน้อยก็ได้มองเห็นสีเขียวเพื่อความสบายใจ ได้พักอย่างแท้จริง ถอดวางตัวเองพักพิงธรรมชาติ และรู้สึกได้ว่าน้ำหนักบนบ่าทั้งสองข้างนั้นเบาลงอย่างที่เราสัมผัสได้ชัดเจน



          สำหรับในเมืองกรุงเทพฯ แม้แต่คนที่อาศัยอยู่บนคอนโดไม่มีสวน เราปลูกพืชท้องถิ่นขนาดเล็กที่ผีเสื้อชอบได้ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ จะแวะเวียนมายังชายคาบ้านพักคน และมอบความปรารถนาดีจากธรรมชาติที่เคยหนีหายไปนาน



          “หย่อมป่า” อาจจะเป็นเพียงป่าขนาดย่อม ป่าที่สร้างขึ้นมาจากต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ AP Thai ทำ แต่ท้ายที่สุดแล้วการช่วยให้ผู้คนเชื่อมต่อกับธรรมชาติ และเป็นจุดเชื่อมชีวิตเล็กๆ ไม่ให้สูญพันธ์ุไปเป็นเรื่องสำคัญและในอนาคตเราจะได้ “ชีวิตดี ๆ ที่ยั่งยืน” อย่างแน่นอน…

 

ไอเดียแต่งบ้าน